โปรโมทเว็บไซต์คุณกับแอดยิ้มวันนี้ กระจายโฆษณาของคุณ สู่เว็บไซต์คุณภาพ

บทความล่าสุด

บัตรเครดิต สินเชื่อ ภาษี ธุรกิจ การลงทุน หุ้น ทองคำ การเงิน บัญชี

วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การประหยัดเงิน เก็บเงิน,ออมเงิน,ปลดหนี้ อย่างเทพๆ

การประหยัดเงิน เก็บเงิน,ออมเงิน,ปลดหนี้ อย่างเทพๆ

-ซื้อมาม่ากินตลอดเดือน ซื้อพวกผักมาทำสลัดผัก

-ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน

-คติประจำใจอดเปรี้ยวไว้กินหวาน

-ซื้อเท่าที่จำเป็น ห้ามซื้อมาเก็บไว้ถ้าไม่จำเป็น ซื้อแล้วต้องใช้ๆๆ

-ปลูกผักสวนครัว ไว้เยอะๆ

-ห้ามเที่ยว ห้ามดื่ม

วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

10 วิธีรับมือ กับปัญหาจากการทำธุรกิจส่วนตัว

10 วิธีรับมือ กับปัญหาจากการทำธุรกิจส่วนตัว

สําหรับคนที่คิดจะทำธุรกิจ หรือปัจจุบันมีธุรกิจเป็นของตัวเองอยู่แล้ว

อาจต้องเผื่อใจไว้เลยว่า คุณต้องรับมือกับสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้น บางปัญหาก็ทำให้คุณแทบตั้งตัวไม่ทัน ขณะที่อีกหลายปัญหาจัดว่าเป็นวิกฤตที่ทำให้คุณรู้สึกเครียด นอนไม่หลับไปหลายวันทีเดียว อย่าเพิ่งเกิดความรู้สึกท้อแท้กับการทำธุรกิจส่วนตัว เพราะมีข้อดีอยู่หลายอย่างเหมือนกัน เช่น ได้รับผลตอบแทนที่ค่อนข้างสูง มีความสบายใจในการทำงานมากกว่า หากธุรกิจไปได้สวย การขยายสาขาจะเกิดขึ้นตามมา สิ่งนี้ทำให้คุณรู้สึกภาคภูมิใจในชีวิตของคุณ

ส่วนข้อผิดพลาดในการทำธุรกิจมีตั้งหลายอย่าง นับจากเรื่องข้อผิดพลาดเล็ก น้อยๆ ไปจนถึงข้อผิดพลาดใหญ่ สำหรับข้อผิดพลาดจากการทำงานนั้น อาจเกิดจากขาดข้อมูลที่ถูกต้องจากการลงทุนทำธุรกิจในมุมมองทางธุรกิจ ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นนำไปสู่ความผิดหวังได้

หากว่าคุณต้องการจะเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในการทำธุรกิจครั้งที่ผ่านมา ก็นับว่าเป็นเรื่องที่น่าชื่นชม หลากหลายคำถามที่อยู่ในใจของผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัวนั้นมักครอบคลุมในเรื่อง ที่ว่า จะทำอย่างไรดีกับเม็ดเงินใน การลงทุนทำธุรกิจของคุณ เช่นเดียวกัน หากในกลุ่มที่ทำธุรกิจของคุณมีเพื่อนสนิทร่วมลงทุนด้วย คุณยิ่งเกิดความรู้สึกกังวลเพิ่มขึ้นว่าเพื่อนจะตำหนิคุณหรือไม่ เมื่อมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นจากการลงทุนทำธุรกิจ และต่อไปนี้เป็นวิธีการรับมือกับปัญหาอันเกิดจากการทำธุรกิจส่วนตัวของคุณ

1.วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยการทำความเข้าใจธุรกิจของคุณให้กระจ่าง

มองว่าการแก้ปัญหาเป็นเหมือนสิ่งน่าท้าทายใหม่ๆ ทำให้ คุณได้เรียนรู้กระบวนการแก้ปัญหา ยกตัวอย่างเช่น หากคุณ คิดจะเปิดธุรกิจร้านกาแฟ หรือเปิดธุรกิจเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ธุรกิจสปา ให้คุณพยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบของธุรกิจนั้น โดยดูจากปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ซึ่งประกอบกันไป เช่น การลงทุนในระยะยาว ปัจจัยเรื่องของสภาพตลาดใน ขณะนั้นว่าจะเอื้ออำนวยต่อการทำธุรกิจมากน้อยแค่ไหนกัน

2.ข้อมูลการทำธุรกิจต้องมีความสมบูรณ์

ข้อมูลเป็น “ตัวช่วย” ในการทำธุรกิจที่สำคัญ โดยเฉพาะ ข้อมูลวิจัยเกี่ยวกับตัวเลขของผู้บริโภค ยอดจำหน่ายของผลิตภัณฑ์ต่างๆ รวมไปถึงดัชนีชี้วัดการเติบโตทางด้านธุรกิจ ข้อมูลเหล่านี้มีส่วนต่อการตัดสินใจทำธุรกิจ รวมไปถึงการ คาดการณ์เกี่ยวกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาภายหลังการ ลงทุนทำธุรกิจนั้น ยกตัวอย่างเช่น หากคุณคิดจะเปิดร้านขายเฟอร์นิเจอร์เก่า คุณก็ต้องหาข้อมูลให้รอบด้าน ศึกษาดูว่าในขณะนี้มีร้านขายเฟอร์นิเจอร์เก่าเกิดขึ้นในเมืองไทยมากน้อยขนาดไหน กระแสตอบรับเป็นอย่างไรบ้าง พร้อมกับศึกษาดู ด้วยว่ากลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เป็นใคร

ถ้าเป็นไปได้ก็ให้ศึกษาดูภาพรวมของการทำธุรกิจนี้ใน ต่างประเทศด้วย พูดได้ว่าไม่ว่าคุณจะทำธุรกิจอะไรก็ตาม หากมีข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการทำธุรกิจประเภทที่คุณสนใจอย่างละเอียด จะช่วยทำให้คุณอุ่นใจราวกับว่าการทำธุรกิจของคุณใกล้เป็นจริงแล้วในอนาคตอัน ใกล้นี้

3.เป็นนักฟังที่ดี

ประเด็นนี้หมายความว่า คุณจำเป็นต้องรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมทุนของคุณด้วย ยกตัวอย่างเช่น หากเปิดกิจการร้านขายเสื้อผ้า และมีกลุ่มเพื่อนมาร่วมหุ้นด้วย เมื่อทำไปสักพักหนึ่งก็ปรากฏว่าเสื้อผ้ารูปแบบเดิมที่คุณจำหน่ายอยู่นั้น ประสบกับปัญหาจำหน่ายยาก ทำให้รายได้จากการจำหน่ายเสื้อผ้าก็น้อยลง ด้วยเหตุนี้เพื่อนในกลุ่มคนหนึ่งจึงเสนอแนวคิดว่าให้ลองเปลี่ยน รูปแบบของสินค้าเสีย ใหม่ โดยนำเสนอเสื้อผ้าที่มีเทรนด์ล้ำสมัย และมีกลุ่มลูกค้าหลากหลายวัยมากยิ่งขึ้น น่าจะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยทำให้ลูกค้าเข้าร้านเป็นจำนวนเพิ่มขึ้น คุณในฐานะหนึ่งใน หุ้นส่วนทางธุรกิจควรจะรับฟังเรื่องนี้จากเพื่อนด้วย จากนั้นก็ระดมความคิดกันในกลุ่มเพื่อนๆ ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลาย เพื่อดำเนินการตัดสินใจว่าจะเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการเปลี่ยน แปลงเรื่อง “ตัวสินค้า” โดยทั่วไป

4.ยังคงมีมุมมองในเชิงบวก

ปรับแนวคิดเสียใหม่ อย่ามัวแต่ตอกย้ำกับแนวคิดที่ว่า ช่วงนี้เศรษฐกิจของประเทศอยู่ในภาวะขาลง ทำให้ร้านอาหารที่ คุณดำเนินกิจการอยู่มีลูกค้าเข้าร้านเป็นจำนวนน้อย อย่าเพิ่งคิดแบบนี้ แต่ให้คุณใช้มุมมองที่ว่า “ปรับวิกฤตให้เป็นโอกาส” โดยเฉพาะเมื่อคุณตัดสินใจมาทำธุรกิจร้านอาหารแล้วก็ต้องเปิด ความคิดของตัวเอง ปรับเปลี่ยนอะไรหลายๆ อย่าง เพื่อให้ธุรกิจร้านอาหารของคุณอยู่รอดได้ ยกตัวอย่างเช่น คุณรับรู้ว่าร้านอาหารของคุณตั้งอยู่บริเวณสถานที่ไหน กลุ่มลูกค้าที่มาเข้าร้านเป็นอย่างไรบ้าง อีกวิธีหนึ่งที่น่าจะช่วยได้มากก็คือ การปรับเปลี่ยนเมนูในร้านอาหารเสียใหม่ เช่น แต่เดิมมีแต่เมนูอาหารไทย ก็อาจจะปรับเมนูอาหารฝรั่งขึ้นมา เพื่อเป็นการขยายฐานลูกค้าที่มาใช้บริการภายในร้านของคุณ แม้ว่าเศรษฐกิจจะแย่ลง แต่ถ้าหากคุณมีมุมมองในแง่บวก พยายามหาช่องทางปรับเปลี่ยนแง่มุมใหม่ คุณจะค้นพบแนวทางที่ถูกต้องในวิธีการบริหารธุรกิจของคุณ

5.บันทึกสิ่งที่เกิดขึ้น

ข้อดีของการบันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ทำให้คุณรับรู้ความเคลื่อนไหวในการทำธุรกิจแต่ละวัน สำหรับการทำธุรกิจ ร้านอาหารนั้น ให้คุณทำการ “บันทึก” ความเคลื่อนไหวต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด เช่น การบันทึกว่าในแต่ละวันเมนูประเภทใดที่ลูกค้านิยมสั่งกันเป็นจำนวนมากที่สุด ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างสรรค์เมนูใหม่ๆ ของร้านต่อไป


13 วิธีเปิดมุมมองใหม่ ก่อนเริ่มต้นทำธุรกิจ

13 วิธีเปิดมุมมองใหม่ ก่อนเริ่มต้นทำธุรกิจ

การมีธุรกิจเป็นของตัวเองเป็นสิ่งที่หลายคนมักใฝ่ฝันให้เกิดขึ้นจริงในชีวิต แต่น้อยคนนักที่จะรู้ถึงความหมายที่แท้จริงของคำพูดที่ว่า “เป็นเจ้านายของตัวคุณเอง” เป็นไปได้ว่าพอทำธุรกิจไปพักหนึ่ง คุณบ่นว่ารู้สึกเหน็ดเหนื่อยกับงาน ที่ทำเพราะแต่ละวันต้องเผชิญหน้ากับปัญหาต่าง มากมาย เช่นผู้จัดการคนใหม่ของบริษัททำให้คุณปวดศีรษะเล็กน้อย หรือพนักงานลางานบ่อย...
แต่อย่างว่ารู้ทั้ง รู้ว่าการเริ่มต้นทำธุรกิจมักหนีไม่พ้นปัญหาในแต่ละวันแต่เราก็อยากให้มี ชื่อปรากฏในแวดวงการทำธุรกิจอย่างการทำธุรกิจผลิตเสื้อยืดใช้ชื่อของเราและเพื่อน ตั้งเป็นชื่อแบรนด์ของตัวเองมีการมองถึงผลที่ได้จากการทำธุรกิจว่า ได้ผลตอบแทนที่ดีแถมเรายังมีชื่อเสียงอีกต่างหาก เผลอๆ อาจจะดังโดยไม่รู้ตัวก็ได้

เมื่อคิดว่าพร้อมที่ จะทำความฝันของตัวเองให้เป็นจริงก็ไม่ควรจะรอช้า ถึงเวลาที่เราต้องลงมือทำจริงเสียทีคุณต้องทุ่มและศึกษามากหน่อย หากคิดจะทำธุรกิจให้ประสบ ความสำเร็จอย่ามองด้านบวกอย่างเดียว พยายามมองอะไรให้รอบด้านต่อไปนี้เป็นวิธีการปรับมุมมองที่คุณสามารถนำไปใช้ ได้จริง

1.ศึกษาความรู้ในภาคอุตสาหกรรมนั้นให้เพียงพอเสียก่อน
กรณีที่จะทำธุรกิจร้านอาหารก็ต้องคำนึงถึงเรื่องการสั่งซื้อเครื่องปรุงอาหารมาที่ร้านด้วยลงมือวิจัยหาข้อมูลเรื่องการตลาดและ รู้ว่ากลุ่มเป้าหมายการทำธุรกิจของเราเป็นใคร เรียนรู้เรื่องการแข่งขันพยายามให้แน่ใจว่าความคิดของเรา ไม่เป็นรองใครอย่าลืมมองในแง่ความยั่งยืนของการทำธุรกิจในอนาคตประกอบกัน ด้วย

2.ให้ความสำคัญกับความซับซ้อนของเอกสารการทำธุรกิจ
ไม่เห็นยากเลยคุยกับ ทนายความก่อนที่คุณจะตีพิมพ์ เอกสารทางธุรกิจหรือเตรียมเผยแพร่ในเว็บไซต์ ทำเอกสารทางกฎหมายให้ครบสมบูรณ์ต้องแน่ใจชื่อบริษัทที่ตั้งขึ้นเป็นชื่อที่ เราถูกใจและปรากฏอยู่ในเอกสารทางกฎหมายแล้ว

3.รับมือกับความเสี่ยงต่างๆ
ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนพยายามลดความเสี่ยงพยายามดึงดูดใจให้นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่นกับบริษัทของเรา เพื่อปูทางความน่าเชื่อถือกับบริษัทของเราในอนาคต

4.เตรียมรับมือกับอุปสรรค
การทำธุรกิจส่วนตัวย่อมต้องพบกับอุปสรรคหลายอย่าง เช่น เงินหมุนเวียนในองค์กรหรือในกรณีที่กู้เงินจากธนาคารมาทำธุรกิจก็ต้องรู้ว่าการผ่อนชำระเป็นอย่างไรรายได้แต่ละเดือนจะเพียงพอหรือเปล่า

5.ไม่ต้องรีบร้อน
อย่าพยายามให้บริษัท เติบโตเร็วเกินไปเติบโตช้าๆ แต่เป็นไปอย่างมั่นใจดีกว่าเมื่อทำไปได้สักพักหนึ่งกิจการเริ่ม ดีขึ้นก็เลยเกิดความคิดว่าจะสร้างออฟฟิศแห่งใหม่ดีหรือไม่ในจุดนี้เราก็ต้อง คำนึงถึงงบประมาณที่ต้องใช้จ่ายว่าพอไหว หรือเปล่าหรือต้องกู้เงินมาขยายกิจการ