โปรโมทเว็บไซต์คุณกับแอดยิ้มวันนี้ กระจายโฆษณาของคุณ สู่เว็บไซต์คุณภาพ

บทความล่าสุด

บัตรเครดิต สินเชื่อ ภาษี ธุรกิจ การลงทุน หุ้น ทองคำ การเงิน บัญชี

วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

QE2 นโยบายผลิต แบงค์กงเต๊ก ที่คุณควรรู้

"QE2" ตอนนี้กลายเป็นประเด็นร้อนแรงไปทั่วโลก เนื่องจากลึกๆแล้ว หัวใจของนโยบายนี้ก็คือ "การเปลี่ยนเงินดอลล่าห์ให้เป็นแบงค์กงเต๊กนั่นเอง!!" (อย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่า เงินดอลล่าห์จะไร้ค่า "ไม่ใช่" มันคงไม่ถึงขั้นไร้ค่า แต่มันจะลดมูลค่าลงมากนั่นเอง)

ผมนั่งคุยกับ เพื่อนๆในวงการธนาคารด้วยกันตั้งแต่ตอนเกิด Sub-prime ใหม่ๆ ตอนนั้นก็สงสัยกันว่า ปัญหาในตอนนั้นคือ คนอเมริกาส่วนใหญ่เป็นหนี้บ้าน และก็เกิดปัญหาสภาพคล่องทำให้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ก็เริ่มเกิดเป็น Wave ของการ Default ในหนี้บ้าน จนลุกลามเป็นที่มาของปัญหา Sub-prime (ซึ่งถ้าสรุปหัวใจของวิกฤตคราวนี้ ก็คือ ระบบการเงินขาดสภาพคล่อง "เงินฝืด" นั่นเอง)

โมเดลธุรกิจแบบกลับหัวกลับหาง

  • คลับใน LA หลายแห่งเก็บเงินจากวงดนตรีที่มาแสดง แทนที่จะจ่ายค่าแรงที่ทำเป็นปกติ การมีเวทีแสดงนั้นสำคัญกว่าการได้ค่าแรงเสียอีก และถ้ามีฝีมือจริงก็มีโอกาสเปิดการแสดงหาเงินได้

วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

6 ขั้นตอนสู่อิสรภาพทางการเงิน

1) จัดทำบัญชี และงบการเงิน

การ เดินทางสู่อิสรภาพทางการเงินก็เหมือนกันกับการเดินทางทั่วไปที่ต้องมีแผนที่ นำทาง ดังนั้นก่อนจะเริ่มเดินทาง คุณเองควรจะรู้ก่อนว่า ปัจจุบันคุณอยู่ ณ จุดไหนของคำว่า “อิสรภาพทางการเงิน”

ลองจัดทำงบการเงิน

2) ตั้งเป้าหมาย และวางแผน

เริ่มต้นจากอิสรภาพทางการเงินขั้นพื้นฐาน 6 ประการ คือ
• เศรษฐกิจพอเพียง
• เก็บ 10 เปอร์เซ็นต์ (ของรายรับทั้งหมด)
• สำรองเงินไว้ใช้จ่าย (อย่างน้อย 6 เดือน)
• ประกันชีวิต สุขภาพ และอุบัติเหตุ
• เรียนรู้ตลอดชีวิต
• บริจาคตามกำลัง

ลอง พิจารณาดูว่าชีวิตของท่านบรรลุเป้าหมายพื้นฐานในแต่ละข้อข้างต้นหรือยัง ถ้ายังให้กำหนดหัวข้อเหล่านี้เป็นเป้าหมาย ที่สำคัญต้องกำหนดวิธีการ กรอบเวลา รวมถึงประเมินภาพในอนาคตไว้ด้วย

ส่วนใครที่มีอิสรภาพการเงินขั้นพื้นฐานแล้ว ก็อาจตั้งเป้าหมายที่สูงขึ้นไปได้ ไม่ว่ากัน

8 นิสัยช่วยให้เป็น เศรษฐีเงินล้าน

"พฤติกรรม" และ "นิสัย" เป็นส่วนผสมที่ทำให้คุณเป็น"เศรษฐี"ได้ แต่ในเวลาเดียวกันพฤติกรรมและนิสัยบางอย่าง ก็บันดาล "ความยากจน" ให้กับคุณได้เหมือนกัน

หาก คุณลองหมั่นสังเกตนิสัยของบรรดาเศรษฐีทั้งที่อยู่รอบตัวเราและที่อยู่ห่าง ตัวหน่อย ก็จะเห็นว่าพวกเขามีลักษณะนิสัยที่คล้ายๆ กัน อาจจะมีรายละเอียดบางอย่างที่แตกต่างกันบ้าง แต่โดยรวมจะค่อนไปในทางละม้ายคล้ายกัน

ในทางตรงกันข้ามพวกที่ไม่เคยถูกเรียกว่าเศรษฐี ก็มักจะมีนิสัยที่ถอดแบบกันมาเช่นกันทั้ง ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ เกินตัว

ไม่ ใช่นิสัยหรือพฤติกรรมทุกอย่างของคนเรา ที่จะหนุนนำให้ทุกคนขึ้นบัลลังก์ของเศรษฐีได้ เวบไซต์เอ็มเอ็มแฮบบิทส์ดอทคอม ได้นำเสนอบทความเกี่ยวกับ "8 นิสัยที่จะช่วยให้คุณเป็นเศรษฐีเงินล้าน" ลองสำรวจตัวเองดู บางทีคุณอาจจะมีนิสัยเหล่านี้ซ่อนอยู่ในตัวอยู่แล้วก็ได้

บางคนอาจ จะไม่มีเลย แต่ไม่เป็นไร นิสัยเหล่านี้สร้างและบ่มเพาะกันได้ หรือบางคนอาจจะแค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนิดหน่อย แล้วนำนิสัยเหล่านี้มาประยุกต์ใช้อย่างไม่ยากเย็น

ลักษณะนิสัยทั้ง 8 ข้อจากนี้ไป เป็นเหมือนกฎขั้นพื้นฐานที่เศรษฐีเงินล้านส่วนใหญ่ทั่วโลกยึดถือและปฏิบัติ เพื่อสร้างรายได้ให้กับตัวเอง ซึ่งคนไทยทั่วไปสามารถนำไปใช้เป็นแบบอย่าง ช่วยให้ตัวเองเป็นเศรษฐีเงินล้านได้ ด้วยหนึ่งสมองและสองมือสองขาของเรานี่เอง

7 วิธีใช้จ่ายให้เงินเหลือออม

7 วิธีใช้จ่ายให้เงินเหลือออม (1-4)
คอลัมน์ Look Around ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 5-26 ธันวาคม พ.ศ. 2545 



7 วิธีใช้จ่ายให้เงินเหลือออม(1)

คอลัมน์ Look Around ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2545

โดย ธนนันท์

องค์ประกอบของรายจ่ายสำหรับคนทั่วไป ได้แก่
(1) รายจ่ายในชีวิตประ จำวันเพื่อการดำรงชีพ อาทิ อาหาร ที่อยู่อาศัย สาธารณูปโภค เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ซึ่งหากรายได้มีไม่เพียงพอสำหรับการใช้จ่ายก็จำเป็นต้องกู้ยืมมาใช้จ่าย จึงเกิดหนี้สินที่จะต้องชำระคืนพร้อมดอกเบี้ย การก่อหนี้ของคนส่วนใหญ่มักเกิดจาก
(2) ซื้อที่อยู่อาศัย
(3) เช่าซื้อรถยนต์
(4) อุปโภคและบริโภค ที่สำคัญคือการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต ซึ่งหลังจากหักรายจ่ายข้างต้นแล้ว รายได้ส่วนที่เหลือจึงเป็นเงินที่ออมไว้ใช้จ่ายในอนาคต และเพื่อให้เงินออมนี้มีผลตอบแทนจึงควรใช้จ่ายโดย
(5) ซื้อสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่จะมีราคาสูงขึ้นในระยะต่อไปแทนการถือเงินสด
(6) ใช้จ่ายลงทุนในตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนสูงและหรือ
(7) ใช้จ่ายลงทุนในตราสารทุน

ในวิชาเศรษฐศาสตร์การใช้จ่ายเงินสร้างความพึงพอใจให้กับมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการใช้จ่ายเพื่อสิ่งที่จำเป็นหรือไม่จำเป็น แต่ในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันบังคับให้เราต้องใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นเท่านั้นจึงจะมีเงินเหลือออม ดังนั้น เพื่อให้บรรลุวัตถุ ประสงค์ทั้งสองประการจึงควรมีการบริหารจัดการรายจ่ายทั้ง 7 วิธีข้างต้นอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้หลักประหยัดและประโยชน์ในการใช้จ่ายประจำวันที่ยังคงสร้างความพึงพอใจเท่าเดิม

ส่วนการก่อหนี้ก็จะต้องเป็นการก่อหนี้ที่ดี โดยนำไปใช้จ่ายให้ได้สิ่งที่ต้องการ และสามารถชำระคืนหนี้ตามภาระผูกพันทั้งในส่วนของเงินต้นและดอกเบี้ยได้

สำหรับการใช้จ่ายลงทุนด้วยเงินออมก็จะต้องบริหารให้ได้รับผลตอบแทนสูงกว่าการเสื่อมค่าของเงินจากภาวะเงินเฟ้อ และให้มีจำนวนมากเพียงพอกับความต้องการใช้ตามวัตถุประสงค์เฉพาะอย่าง ซึ่งคนทั่วไปมักต้องการใช้จ่ายซื้อที่อยู่อาศัย การศึกษาของบุตร และการใช้จ่ายหลังเกษียณอายุ โดยใช้กลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะสม ซึ่งก็คือการลงทุนรูปพีระมิด